service
• บริการของเรา •
หมวด | ศัลยกรรม
ศัลยกรรมเสริมคาง
ปัจจุบันนี้สาว ๆ หลายคนหันมาให้ความสนใจในเรื่องของ “การทำศัลยกรรมคาง” มากขึ้น เพราะเป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงและแก้ไขรูปหน้าที่ไม่ได้สัดส่วนให้มีความสวยงามได้ดั่งต้องการ ทำให้ใบหน้าดูยาวเรียว และได้รูปมากขึ้น
เหมาะสำหรับคนที่มี ปัญหา คางสั้น คางเหลี่ยม คางบุ๋ม หรือ คางเบี้ยว ซึ่งเทคโนโลยีการเสริมคางในทุกวันนี้ก้าวหน้าไปมาก ไม่ต้องดมยาสลบ ก็สามารถเสริมคางให้กลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งสาว ๆ คนไหนที่อยากเสริมคาง ก็ควรหาข้อมูลและรายละเอียดของการทำศัลยกรรมคางให้ดี ๆ ก่อนนะคะ นอกจากจะเลือกโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือแล้ว ก็ควรเลือกศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ จะได้เพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้นค่ะ
การทำศัลยกรรมเสริมคางตามโรงพยาบาลและคลินิกทั่วไปในทุกวันนี้ พบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ วิธีฉีดไขมันที่คาง หรือ ใช้สารฟิลเลอร์ แต่วิธีนี้จะไม่คงอยู่ถาวร เพราะไขมันและสารฟิลเลอร์จะค่อย ๆ สลายไปเองภายใน 3-5 ปี ส่วนวิธีที่สองคือ วิธีเสริมคางด้วยซิลิโคน จะเป็นการผ่าตัดเล็ก โดยใช้ซิลิโคนชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการเสริมจมูก มาเหลาปรับทรงตามความเหมาะสม จากนั้นนำมาใส่บริเวณคาง ซึ่งการเสริมคางด้วยซิลิโคนนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การเสริมคางจากด้านนอกช่องปาก การผ่าตัดศัลยกรรมเสริมคางจากด้านนอกช่องปาก เป็นการผ่าตัดเปิดแผลบริเวณใต้คาง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร โดยแพทย์สามารถปรับรูปคางได้หลายองศา และสามารถวางตำแหน่งซิลิโคนได้แม่นยำ ชัดเจน รวมถึงยังสามารถตกแต่งผิวหนังส่วนเกินใต้คางได้ ลดโอกาสในการบิดเบี้ยวเอียงได้ดีขึ้น ซึ่งข้อดีของการเสริมคางแบบแผลนอกปาก คือ ดูแลค่อนข้างง่าย แผลมีขนาดเล็ก บวมน้อย พักฟื้นไม่นาน แต่การเสริมคางแบบเปิดแผลภายนอก อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้ ซึ่งต้องใช้เวลา 1-3 เดือนกว่ารอยแผลเป็นจะหายเอง แต่ถ้าทายาลดรอยแผลเป็นร่วมด้วยก็จะช่วยให้แผลเป็นหายเร็วขึ้นค่ะ
2. การเสริมคางจากด้านในช่องปาก การศัลยกรรมวิธีนี้เป็นการผ่าตัดเปิดแผลด้านในช่องปาก ตรงบริเวณเหงือกด้านในกับริมฝีปากล่าง ให้มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร (หรือแล้วแต่ขนาดซิลิโคน) จากนั้นศัลยแพทย์จะผ่าแยกเยื่อหุ้มบริเวณขอบล่างของคางออก แล้วจึงวางแท่งซิลิโคนเข้าไปให้พอดีกับตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้นก็เย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย ซึ่งวิธีเสริมคางแบบแผลในปากเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูง เพราะไม่ทำให้เห็นแผลเป็นภายนอกที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด เหมาะกับคนที่มีแผลเป็นนูนง่าย (คีลอยด์) แต่หลังการผ่าตัดต้องดูแลแผลในปากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อจากน้ำลายหรือเศษอาหาร รวมถึงควรระมัดระวังไม่ให้คางกระแทกจนซิลิโคนเคลื่อนผิดตำแหน่งได้ค่ะ
วิธีดูแลตัวเองหลังเสริมคาง
1. หลังผ่าตัดจะมีอาการบวม จึงควรประคบเย็นอย่างน้อย 48 ชั่วโมง โดยอาการบวมจะค่อย ๆ ลดลงประมาณ 2 สัปดาห์
2. หมั่นบ้วนปากด้วยน้ำสะอาด น้ำเกลือ หรือนำยาบ้วนปาก ทุก 2-3 ชั่วโมงและทุกครั้งหลังอาหาร เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดในช่องปาก
3. ควรรับประทานอาหารที่เคี้ยวง่าย เช่น อาหารอ่อนหรืออาหารเหลว และหลีกเลี่ยงการขยับปากในช่วงแรก
4. หลังการผ่าตัดในภายในช่วง 2 สัปดาห์แรก ควรงดกิจกรรมที่ทำให้บาดแผลกระทบกระเทือน เช่น การวิ่ง กระโดด และห้ามเท้าคางเด็ดขาด
5. ช่วงแรก ๆ ให้นอนหงายและหนุนหมอนสูง ๆ เพื่อลดอาการบวมและเลือดคั่ง
6. งดทานอาหารรสจัด อาหารร้อน ของหมักดอง และอาหารที่ต้องใช้แรงเคี้ยว รวมถึงงดของสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้
7. ดื่มน้ำมาก ๆ โดยควรใช้หลอดดูด เพื่อลดการขยับคาง
8. งดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดสูบฉีดขึ้นใบหน้ามาก จะทำให้หน้าบวมได้
9. ควรทานยาตามที่แพทย์สั่ง พร้อมดูแลแผลอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
10. หากมีอาการผิดปกติจากการศัลยกรรม หรือสงสัยว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีการผ่าตัดเสริมคาง
วิธีที่ 1. การผ่าตัดลงด้านนอก
เป็นการผ่าตัดบริเวณใต้คาง แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากเห็นแผลด้านอก แต่ก็มีข้อดี คือ โอกาสติดเชื้อจะน้อยกว่าการผ่าตัดด้านใน
ข้อดี
1. มีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าการเปิดแผลในช่องปาก
2. กล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้รับการกระทบกระเทือนค่อนข้างน้อย เพราะแพทย์สามารถหลีกเลี่ยงกล้ามเนื้อและเส้นประสาทเพื่อเข้าสู่ขอบล่างของกระดูกกรามได้โดยตรง
3. เมื่อเกิดปัญหาซิลิโคนเบี้ยวหรือเอียงจะแก้ไขได้ง่ายกว่า เพราะสามารถผ่าตัดซ้ำที่แผลภายนอกได้เลย
4. สามารถวางตำแหน่งซิลิโคนได้ง่าย
ข้อเสีย
1. มีแผลเป็นเล็กน้อย ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
2. การเปิดแผลภายนอกไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ (Keloid)
วิธีที่ 2. การผ่าตัดลงในปาก
เป็นการผ่าตัดเปิดแผลด้านในปาก บริเวณซอกเหงือกกับริมฝีปากล่าง ความยาวของแผลประมาณ 2 ซม. หลังจากนั้น ก็จะแยกเยื่อหุ้มกระดูกคางตรงขอบล่างขึ้นมา แล้วจึงจะวางแท่งซิลิโคน เข้าไปให้พอดีตรงตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้นก็เย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย ใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็สามารถกลับบ้านได้เลย
ข้อดี
1. ไม่มีแผลเป็นเพราะมองไม่เห็นแผลจากภายนอก
ข้อเสีย
1. แม้มองไม่เห็นแผลภายนอก แต่แผลในปากที่อยู่ติดกับร่องเหงือกจะไม่ค่อยสวยและเห็นชัด
2. มีโอกาสติดเชื้อสูง เพราะในช่องปากมีน้ำลายตลอดเวลา และตอนทานอาหาร เศษอาหารอาจตกลงไปตามขอบแผลได้
3. การวางซิลิโคนไว้ให้ติดกับกระดูกกรามล่างนั้น มีโอกาสเคลื่อนที่และไม่ตรงกับตำแหน่งที่ต้องการได้
4. อาจเกิดปัญหากับกล้ามเนื้อคางและเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ ส่งผลให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อคาง เมื่อมองจากภายนอก ผิวหนังอาจดูไม่เรียบเนียนได้
5. มีพื้นที่ในการผ่าตัดค่อนข้างจำกัด ต้องกรีดเปิดแผลในปากค่อนข้างยาวเพื่อวางซิลิโคน ทำให้เนื้อเยื่อช้ำและมีเลือดออกมาก การเย็บปิดแผลก็ค่อนข้างยุ่งยาก
6. เมื่อเกิดปัญหาซิลิโคนเบี้ยวหรือเอียงจะแก้ไขได้ยากเพราะแผลเย็บในปากมีมากแล้ว การผ่าตัดซ้ำอีกก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มแผลมากขึ้น
Q&A คำถามที่พบบ่อย
Q
วิธีดูแลตัวเองหลังศัลยกรรมเสริมคาง ?
A
1. ในช่วง 3 วันหลังผ่าตัด แนะนำให้ประคบด้วยน้ำแข็งเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันการบวมโดยวางถุงประคบรอบ ๆ คาง
2. แนะนำในช่วง 1 อาทิตย์แรกให้เข้ามาที่คลินิกเพื่อทำการล้างทำความสะอาดแผลทุกวันเพื่อป้องกันการสะสมของเศษอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื่อ และอักเสบ
3. ในช่วงวันที่ 4–6 หลังผ่าตัด แนะนำให้ประคบร้อนด้วยไข่ต้มเพื่อลดลดอาการบวมช้ำบริเวณรอบ ๆ คาง
4. นอนศีรษะสูง และห้ามนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ เพราะเนื่องจากอาจไปกดทับบริเวณคางที่ยังอักเสบอยู่
5. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบอย่างเคร่งครัด
6. ขณะรับประทานอาหารในช่วง 1 อาทิตย์แรกแนะนำให้ทานโดยหลอดดูดอาหาร เพื่อป้องกันเศษอาหารตกลงไปในบริเวณแผล
7. มาตามนัดที่ได้รับจากทางคลินิก ห้ามแกะพลาสเตอร์ หรือตัดไหมออกเองก่อนกำหนด
8. ทำความสะอาดใบหน้าด้วยผ้าเปียกเช็ด หรือทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวแทนการล้างหน้า
9. อาการบวมเขียวช้ำอาจมีขึ้นได้หลังผ่าตัด โดยเฉพาะในช่วง 1-2 อาทิตย์แรก และจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ใน 3-4 เดือนกว่าเนื้อเยื่อจะกลับมาใกล้เคียงปกติ บางรายอาจต้องใช้เวลานาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
10. หลีกเลี่ยงการก้มหน้ามาก ๆ เช่น นั่งอ่านหนังสือ เล่นคอมฯ ยกของหนัก ส่ายหน้าหรือเอียงหน้าแรงๆ โดยเฉพาะ 2 อาทิตย์แรก
11. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ประมาณ 3 เดือน
12. หลีกเลี้ยงการทานอาหารทะเล ของหมักของดอง อาหารรสจัด และอาหารที่คบเคี้ยวยากในช่วง 1 เดือนแรก
13. สามารถออกกำลังกายหนัก ๆ เช่น วิ่ง หรือ ว่ายน้ำ ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป
14. หากมีความผิดปกติอื่น ๆ สามารถมาปรึกษาที่คลินิกได้ทันที
บริการอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
บทความน่ารู้